ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย มีการลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน 3 ด้านหลักภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020) ต่อมาได้ตกลงย่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จใน พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
การร่นระยะเวลาเข้ามาอีก 5 ปี เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา
จากการประชุมสุดยอดครั้งที่ 14 ที่ชะอำ เพชรบุรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำได้ลงนามรับรอบปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายใน พ.ศ.2558 ประกอบด้วย ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community-ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันด้วยดี มีเสถียรภาพรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกันอันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาคมในประเทศอาเซียน 3-4 ประการ
อาทิ มุ่งให้การไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน ลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายใน ค.ศ.2020 ให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว ทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community ASCC) เพี่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันในแนวความคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
สิ่งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเริ่มแล้ว ณ ขณะนี้ คือภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของอาเซียนบุคลากรและนักศึกษาต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารได้ ดังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเริ่มให้ครูมีบทบาททางด้านนี้
ในปี พ.ศ.2558 จะเริ่มต้นในเรื่องคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษเพื่อมีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี มีข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ
  1. วิศวกรรม
  2. พยาบาล
  3. สถาปัตยกรรม
  4. การสำรวจ
  5. แพทย์
  6. ทันตแพทย์
  7. บัญชี
คำศัพย์อีกบางคำที่ควรรู้คือ AF (ASEAN Foundation) มูลนิธิอาเซียน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกของความเป็นอาเซียนใจหมู่ประชาชน เพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรมโครงการเพื่อการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน สำนักงานตั้งที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
AFTA (ASEAN Free Trade Area) เขตการค้าเสรีอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก มีการลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0-5 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2536                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น